ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีอยู่ทุกบ้านเรือนและในงานอุตสาหกรรม เพราะทุกที่ที่มีไฟฟ้าใช้เราไม่อาจทราบได้ว่าวงจรไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่นั้นจะเกิดความผิดพลาดตอนไหน ดังนั้นทางที่ดีคือควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนดหรือเมื่อวงจรไฟฟ้าเกิดปัญหา ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้งานกันอยู่นั้น มีดังต่อไปนี้
- Air Circuit Breakers (ACB)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้ป้องกันสายเมน นิยมใช้กับงานแรงดันสูงๆ (HVAC) โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing chamber) ที่ใหญ่และแข็งแรงเพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจจับและวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร
- Moulded Case Circuit Breakers (MCCB)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้ในการควบคุมการจ่ายไฟฟ้าที่ได้รับมาจากส่วนของ ACB มีพิกัดกระแสลัดวงจรสูงแต่ไม่เท่า Air Circuit Breakers ซึ่งขนาดกระแสจะมีตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักร้อยแอมป์
- Miniature Circuit Breakers (MCBs)
เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กมักใช้ในอาคาร ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย (Consumer unit) มีพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำ เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ และส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic
- Residual Current Devices (RCDs)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟรั่วและไฟดูด (ไฟช็อต) ตามพิกัดที่กำหนดไว้ จะติดตั้งใน Consumer unit และตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น